สุนัขมองเห็นอย่างไร เห็นเหมือนคนเราหรือเปล่านะ - Arak Animal Hospital

สุนัขมองเห็นอย่างไร เห็นเหมือนคนเราหรือเปล่านะ

ผู้เขียน : น.สพ.อธิพล ธรรมานุสาร

สุนัขมองเห็นอย่างไร เห็นเหมือนคนเราหรือเปล่านะ

      การมองเห็นของสุนัข แตกต่างจากของมนุษย์ทั้งในแง่ของ สี ความชัด การมองเห็นในที่มืด และมุมมอง แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงรายละเอียดว่าแตกต่างกันอย่างไร เราต้องทราบถึงกระบวนการมองเห็นของทั้งคนและสัตว์อย่างคร่าวๆ ก่อน

 

       การมองเห็นเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่เรามองอยู่แล้วสะท้อนเข้าสู่ดวงตา ผ่านไปที่กระจกตา (Cornea) เข้าสู่รูม่านตา (Pupil) ซึ่งรูม่านตาจะทำหน้าที่ในการควบคุมปริมานแสงที่จะเข้าสู่ตา คือ จะหดลงเมื่อมีแสงสว่างมาก และเปิดกว้างขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือมีแสงสว่างน้อย แสงที่ผ่านรูม่านตาจะไปยังเลนส์ตา (Lens) ที่ทำหน้าที่หักเหแสงให้ไปโฟกัสที่จอประสาทตา (Retina) ที่ประกอบไปด้วยเซลล์รับแสง 2 ชนิดคือ 

  • เซลล์รูปแท่ง (rod cell) ในการรับแสงสว่าง 
  • เซลล์รูปกรวย (cone cell) ที่เป็นเซลล์ที่แยกความแตกต่างของสี 

เซลล์ทั้งสองชนิดจะทำหน้าที่แปลงแสงที่ได้รับเป็นสัญญาณประสาทและส่งต่อไปที่สมองทำให้เกิดเป็นภาพขึ้น

A diagram of a human eye

AI-generated content may be incorrect.
(Photo credit: macmillanusa )

 

 สุนัขมองเห็นภาพแตกต่างจากคนอย่างไร

          อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ว่า สุนัขมองเห็นแตกต่างจากของมนุษย์ทั้งในแง่ของ สี ความชัด การมองเห็นในที่มืดและมุมมอง  ที่เป็นเช่นนี้เพราะสุนัขมีองค์ประกอบในดวงตาแตกต่างจากคนเรานั้นเอง

  1. การมองเห็นสีของสุนัข

            สุนัขมี การมองเห็นแบบสองสี (Dichromatic vision) คือ มีเซลล์รับแสง (cones) เพียง 2 ชนิด ขณะที่มนุษย์มี 3 ชนิด จึงมองเห็นสีได้อย่างจำกัด มองเห็นแค่สี ฟ้า และ เหลือง ส่วนสีแดง และ สีเขียวจะออกเป็นสีเทา น้ำตาล หรือเหลืองหม่น ๆ

  1. ความชัดเจน (Visual Acuity)ของสุนัข

             สุนัขมองเห็น ไม่คมชัดเท่ามนุษย์ หรือ พูดง่ายๆว่าสายตาสั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อในดวงตาของสุนัขไม่สามารถปรับโฟกัสได้ดีเท่ามนุษย์ ทำให้วัตถุที่อยู่ไกลหรือมีขนาดเล็ก จึงค่อนข้างเบลอสำหรับสุนัข

  1. การมองเห็นในที่มืดของสุนัข

              สุนัขมองเห็นในที่มืดได้ดีกว่าคนหลายเท่า เพราะมีเซลล์รับแสงชนิด rods มากกว่าและยังมี tapetum lucidum (ชั้นของเนื้อเยื่อจอประสาทตา) ทำหน้าที่ สะท้อนแสงที่ผ่านจอประสาทตากลับมาอีกรอบ ทำให้เพิ่มโอกาสในการจับภาพในที่มืด และ มี tapetum lucidumนี่เองที่ทำให้ ตาสุนัขสะท้อนแสง หรือ เรืองแสงตอนถ่ายภาพตอนกลางคืน

  1.  มุมมองการมองเห็น (Field of View)

            ด้วยตำแหน่งของดวงตาสุนัขอยู่ด้านข้างของศีรษะมากกว่าคน จึงทำให้มี มุมมองกว้างกว่า มนุษย์ โดยเฉพาะในกลุ่มสุนัขที่โครงหน้ายาว เช่น Greyhound (เกรย์ฮาวด์) เนื่องจากถูกวิวัฒนาการเป็นสุนัขล่าเนื้อ ซึงจะต้องมองเห็นได้รอบด้านนั่นเอง

 

อาจเป็นรูปภาพของ ‎ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม และ ‎ข้อความพูดว่า "‎arak AnimalHospital Anima PotFriendly ตัวอย่างภาพที่คนเห็น ที่คนเ arak PetF PetFriendty1 rlendly Tsles 大 ตัวอย่างภาพที่น้องหมาเห็น aة‎"‎‎

 

หากสุนัขมีปัญหาหรือเป็นโรคตา จะเป็นอย่างไร?

          การมองเห็นเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสทั้งห้า และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกคน รวมถึงสัตว์ทั้งหลายรับรู้ และ เข้าใจโลกที่อยู่รอบตัว เมื่อเกิดความเสื่อมหรือโรคที่ส่งผลต่อการมองเห็น ก็คงมีผลต่อคุณภาพชีวิตไม่น้อยเลยทีเดียว (อ่านบทความสุนัขตาขุ่น รักษาอย่างไร เป็นโรคต้อใช่หรือไม่ เพิ่มเติม)

 

ตัวอย่างการมองเห็นเมื่อน้องหมาเป็นโรคต้อกระจก:

  • เลนส์ตาขุ่น มองเห็นภาพเบลอทั่วทั้งภาพ
  • แสงจ้าหรือแสงสะท้อนรบกวนการมองเห็นมากขึ้น
  • ภาพที่เห็นจะซีดลง คล้ายภาพขาวดำจาง ๆ
  • มองเห็นวัตถุไม่ชัด เห็นเพียงเงาหรือโครงร่างเบลอ ๆ
     

ตัวอย่างการมองเห็นเมื่อน้องหมาเป็นโรคต้อหิน:

  • มุมมองแคบลง ขอบรอบภาพจะมืดหรือพร่ามัว เหลือเพียงภาพตรงกลางที่ชัดเจน
  • ความคมชัดลดลง รายละเอียดต่าง ๆ จะเบลอขึ้น
  • การมองเห็นอาจแย่ลงในที่สว่างจ้า
  • ฃสีอาจดูซีดจางหรือไม่สดเหมือนเดิม

     

May be an image of text

 

          หากพบอาการผิดปกติบริเวณดวงตา เช่น ตาขุ่น ไวต่อเเสง เดินชนสิ่งของ อาจเป็นสัญญาณของโรคต้อ ควรรีบพามาตรวจกับสัตวแพทย์ที่ศูนย์โรคตา โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ ตรวจตา โดยสัตวแพทย์ประจำศูนย์โรคตา  990 บาท (จากราคา 1,787 บาท) CLICK


สอบถามเพิ่มเติม และนัดหมาย

แชร์